ด้วยพระอัจฉริยะภาพของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ทรงอุทิศพระองค์เพื่อการ บริหารจัดการน้ำ ด้วยการศึกษาค้นคว้าการทำฝนเทียม เพื่อให้เกิดฝนหรือน้ำ เพื่อการเกษตรอุปโภคและบริโภคของ มนุษยชาติ การทำฝนเทียม หรือ ฝนหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอบู่หัว มีพระราชดำรัส ถึงความยากลำบาก และ การเสี่ยงอันตรายจากการทำ “ฝนหลวง” เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๖ ดังนี้
เมื่อมีน้ำฝนไหลจากพื้นที่สูงในภูเขาลงสู่ที่ต่ำในพื้นล่าง ก็ต้องมีการบริการจัดการน้ำ เพื่อให้มีการใช้น้ำอย่างคุ้มค่า ให้มีต้น้ำลำธารในป่าให้นานที่สุดเพื่อความชุ่มชื้นให้ต้นไม้ในป่าสามารถเจริญเติบโตได้ ดูดซับน้ำเก็บไว้ในฤดูแล้งได้ ในอดีตประเทศไทยยังมีประชากรไม่มากนัก ผืนแผ่นดินไทยยังมีความอุดมสมบูรณ์ ของทรัพยากรป่าไม้ ดิน น้ำ เพียงพอกับความต้องการ ครั้นในสมัยปัจจุบันได้เกิดภาวการณ์ทำลาย สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติต่างๆทำให้แหล่งน้ำ ตามธรรมชาติ คือ แม่น้ำลำธาร ห้วย คลอง หนองบึง มีปริมาณน้ำลดลง และมีน้ำเสียประปน ประชากร ได้รับความเดือดร้อน จากภาวการณ์ขาดแคลนน้ำ
เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๒ ใจความว่า “โดยมากงานที่ขึ้นมาเป็นเอกก็คือ งานชลประทาน เพราะถือว่า ถ้าหากไม่มีชลประทาน ประเทศก็จะแห้งแล้ง เมื่อแห้งแล้งแล้วเพาะปลูกก็ไม่ได้ พอเพาะปลูกไม่ได้ก็ไม่มี การทำงานด้านเกษตร ซึ่งเป็นงานที่ได้ประโยชน์แก่ราษฎร โดยตรง การชลประทานนี้ก็นึกถึงเกษตร แต่ว่าความเป็นอยู่ของประชาชนธรรมดา น้ำบริโภคก็ต้องมี......” จึงมีพระราชดำรัส เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๒ ถึงความจำเป็นที่ต้องก่อสร้าง เขื่อนป่าสัก จังหวัดลพบุรี และเขื่อนคลองท่าด่าน จังหวัดนครนายก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชทาน แนวพระราชดำริ ในการพิจารณาแหล่งน้ำผิวดิน ให้แก่ หน่วยงานต่างๆ เช่น กรมชลประทาน ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ ด้วยงานพัฒนา หลายประเภท คือ งานอ่างเก็บน้ำ , งานฝาย , ทดน้ำ , งานทดลองหนองและบึง และงานสระน้ำ
เรื่องโดย นายจาตุรันต์ วัฒนประทีป ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพวังไกลกังวล